วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ วันที่ 31  เดือน มกราคม 2557
เรื่องสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในวันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายแล้วอาจารย์นัดให้นักศึกษาส่งสื่อคณิตศาสตร์พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยมีรายชื่อตัวอย่างสื่อดังนี้...
ชูชินับเลข
วงล้อมหาสนุกสื่อคู่แฝด
รูปทรงหรรษา
กระถางลูกโป่ง
เด็กน้อยนับเลข
ลังไข่มหัศจรรย์
คณิตคิดสนุก
ลูกเต๋าสารหน้า
จำนวนนับ
จับคู่หาตัวเลข
จำนวนนับและเรขาคณิต
มานับเลขกันเถอะ
พีชคณิตปู๊นๆ
โดนัทตัวเลข
มาเติมตัวเลขกัน
จิ๊กซอรูปเรขาคณิต
ตาชั่งคณิตศาสตร์หรรษา
ตัวเลขหรรษา                                                                                                                                      สื่อคู่ของข้าพเจ้าคือ…… วงล้อมหาสนุก 
วิธีการเล่น
1. หมุนวงล้อด้านใน 1 ครั้ง
2. รอจนกว่าวงล้อด้านในหยุดแล้วดูว่าช่องของวงล้อด้านนอกและวงล้อด้านในตรงกันหรือไม่
3. ถ้าตรงกันให้เด็กนับจำนวนรูปทรงในแต่ละช่องว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วหยิบตัวเลขคำตอบ มา    ใส่ในช่องนั้นๆ
4. ในกรณีที่เส้นแบ่งช่องไม่ตรงกันให้หมุนใหม่อีก 1 ครั้ง

สื่อชิ้นนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง....?

 1. สามารถประยุกต์ได้ทั้งการนับจำนวน   รูปเรขาคณิตการรวมและการแยก (ด้านสติปัญญา)
 2. พัฒนากล้ามมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กในระหว่าง ทำกิจกรรม  (ด้านร่างกาย)
3. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับบุคครอบข้าง(ด้านสังคม)
4.  ทำให้เกิดความรู้สึก ผ่อนคลายสนุกสนานและ ตื่นเต้น ในการ ทำกิจกรรม (ด้านอารมณ์)

สื่อที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ คือสื่อกระถางลูกโป่ง

เพราะ……เป็นสื่อที่เรียบง่ายสามารถทำได้ง่ายใช้ระยะเวลาไม่นาน พร้อมทั้งนี้ยังสามารถประยุกต์นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ เช่น สถิติการมาเรียนโดยให้เด็กที่มาเรียนนำไม้ที่เป็นรูปของตัวเองมาเสียบไว้ตรงช่องที่เตรียมไว้ให้  หรือ หากต้องการที่จะทำสื่อคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนก็สามารถดัดแปลงให้เป็นรูปต่างๆได้ ซึ่งเด็กจะได้ไม่เบื่อหน่าย และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้เต็มที่  
รูปภาพบรรยากาศการนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน














ครั้งที่ 8  วันที่ 10 เดือนมกราครม 2557
เรื่องแผนการสอนคณิตศาสตร์
ตั้นชั่วโมงอาจารยือธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยมีข้อสรุปดังต่อไปนี้…..คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะบูรณาการไปกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นต้น ซึ่งการเขียนแผนการสอนในรายวิชานี้ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกวันหรือทุกสัปดาห์แต่ให้ระบุว่าในแต่ละเทอมของเด็กแต่ละช่วงชั้นว่าเด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง

จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มย่อย 5-6 คน ต่อ1 กลุ่ม แล้วช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการสอนโดยในตอนเรียกอาจารยือธิบายแนวทางและวิธีการเขียนแผนก่อนต่อมาก็ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติเองพร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนตอนท้ายคาบเรียน

แผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มของข้าพเจ้า



ตัวอย่างบรรยากาศในการนำเสนอแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








ครั้งที่ 7  วันที่   17 เดือนมกราคม 2557
เรื่องแผนการสอน และพีชคณิต
 งานแรก……คาบเรียนนี้อาจารย์ให้แบ่งนักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆให้ออกมาเสนอการจัดการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อ ..สถิติสำหรับเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อเรื่องสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวและสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งจากทำสถิติสำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่มีความซับซ้อนอาจจะเป็นการให้เด็กแยกประเภทจากภาพตามที่ครูยกขึ้มมาให้เด็กดู เช่น  สัตว์ปีก  สัตว์บก สัตว์เลื้อยคลาน ในด้านของตัวผู้สอนนั้น จะเป็นผู้จัดเตรียมสื่อ เขียนสื่อตามที่เด็กแสดงความคิดเห็นออกมาโดยท้ายสุดของกิจกรรมครูผู้สอนจะต้องเป็นคนสรุปการเรียนรู้ทั้งหมดให้เด็กอีกหนึ่งรอบเพื่อให้เด็กมีความเข้าใจ และ ยังเป็นการประเมินตัวของเด็กไปในตัวโดยการสังเกตหรือการตอบคำถามท้ายกิจกรรม
งานที่สอง ……อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบสื่อตัวหนอนที่เกี่ยวข้องกับพีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย โดยรูปแบบของการทำสื่อคือ ตัวหนอนจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง ขนาด หรือ สี
การเรียนในคาบนี้ถือว่าสนุกมากนอกจะที่จะได้แสดงบทบาทสมมุติแล้วยังได้ใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการออกแบบสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับคณิดศาสตร์ด้วยเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆในการทำสื่อเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว


บรรยากาศภายในห้องเรียน











วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2557
สาระมาตรฐานการเรียนรู้
1.            การนับและดำเนินการ
2.            การวัด
3.            เรขาคณิต
4.            พีชคณิต
5.            การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.            ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย คืออะไร
คำถาม             เด็กเรียนจบอนุบาล 3 เด็กรู้อะไรบ้างในทักษะทางคณิตศาสตร์
คำตอบ            1.  มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
-                   นับ1-20
-                   เข้าใจหลักของการนับ
-                   รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยซึ่งเด็กจะต้องสามารถอ่านตัวเลขออกเละเขียนตัวเลขได้
-                   รู้ค่าของจำนวน
-                   รู้จักการรวมและการแยก
-                   การเปรียบเทียบและเรียงลำดับ
2. มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- เปรียบเทียบเรีบงลำดับและการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4. มีความเข้าใจแบบของรูปร่างและสีที่มีความสำพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
5 มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6 มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(กระทรวงวิทยาศาสตร์)

1.                                   จำนวนและการดำเนินการ (ส่วนมากใช้การรวมและการแยกในการแสดงการบวกและการลบ)
.  1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง



2. การวัด
 ม. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และ เวลา

3 เรขาคณิต

เด็กมักจะเริ่มรู้จักเรขาคณิตแบบสามมิติก่อนเรขาคณิตแบบสองมิติเพราะเนื่องจากาสมมิติเด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ง่ายกว่า เด็กสามารถ จับ ลูบ คลำเล่นได้
. 3.1 รู้จักการใช้คำบอกที่ใช้ในการบอกทิศทางตำแหน่ง และระยะทาง
3.2 จับแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนเปลงของรูปเรขาคณิต

4. พีชคณิต

(ความสัมพันธ์ของสี)
 
               (ความสัมพันธ์ของสีและรูปทรง)


               (ความสัมพันธ์ของสีและรูปทรง)

. 4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์(มีรูปร่าง ขนาด สี อย่างหนึ่งอย่างใดสัมพันธ์กัน) 

5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
.5.1รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สิ่งแวดล้อมและนำเสนอในรูปเบบของแผนภูมิอย่างง่าย
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะนี้ไม่มีอยู่ในการเรียนการสอนแต่จะถูกไปบูรณาการกับห้าสาระแรกข้างต้น
-                   การแก้ไขปัญหา การสังเกต การสื่อสาร การสื่อความหมาย  ทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์







      


        




ครั้งที่ 5

อาจารย์ให้ประดิษฐ์งานศิลปะรูปเรขาคณิตได้อย่างตามใจชอบพร้อมตกแต่งให้สวยงามค่ะ
ผลงานที่สำเร็จเจ้าค่า

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 4

บันทึกครั้งที่ 4
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่มอบหมายไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 1 การนับ

การนับจะเป็นไปตามขั้นของพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเด็กปฐมวัยจะไม่มีการเรียนตัวเลขไทย

กลุ่มที่ การวัด
                                       การวัด (Measurement)          ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการจัดลำดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ หาว่าสิ่งใดยาวที่สุด จะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด     การวัดจะช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง ตำแหน่ง ทิศทาง รวมทั้งการคาดคะเน และการกะประมาณ การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทางความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้แค่ว่า สิ่งใดสูง สิ่งใดต่ำ  สิ่งใดมีน้ำหนักเบา สิ่งใดมีน้ำหนักที่หนัก และ วันเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น เป็นต้น



กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต
                              เพื่อนๆนำเสนอในรูปแบบการปฎิบัติให้เพื่อนๆในกลุ่มทำรูปทรงเรขาคณิตต่างๆด้วยส่วนต่างๆของร่างการ และใช้คำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆเคยเห็นอะไรบ้างที่มีรุปทรงกล้ายกับ วงกลม เป็นต้น



กลุ่มที่ 4 พีชคณิต
คือการแทนค่าตัวเลขด้วยสัญลักษณ์ เช่น
X+Y=A 
XY=A
X/Y=A  หรือ การวาดรูปเรขาคณิตเรียงกัน 3รูปแล้วเหลือช่องสำหรับให้เด็กเด็กเติมรูปเรขาคณิตรูปต่อไป เป็นต้น
กลุ่มที่ 5 ความน่าจะเป็น
                              ใช้ลูกปิงปองมาสาธิตความน่าจะเป็น โดยเอาลูกปิงปองใส่ในแก้วแล้วจะให้เด็กคิดถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น