วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ วันที่ 31  เดือน มกราคม 2557
เรื่องสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในวันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายแล้วอาจารย์นัดให้นักศึกษาส่งสื่อคณิตศาสตร์พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยมีรายชื่อตัวอย่างสื่อดังนี้...
ชูชินับเลข
วงล้อมหาสนุกสื่อคู่แฝด
รูปทรงหรรษา
กระถางลูกโป่ง
เด็กน้อยนับเลข
ลังไข่มหัศจรรย์
คณิตคิดสนุก
ลูกเต๋าสารหน้า
จำนวนนับ
จับคู่หาตัวเลข
จำนวนนับและเรขาคณิต
มานับเลขกันเถอะ
พีชคณิตปู๊นๆ
โดนัทตัวเลข
มาเติมตัวเลขกัน
จิ๊กซอรูปเรขาคณิต
ตาชั่งคณิตศาสตร์หรรษา
ตัวเลขหรรษา                                                                                                                                      สื่อคู่ของข้าพเจ้าคือ…… วงล้อมหาสนุก 
วิธีการเล่น
1. หมุนวงล้อด้านใน 1 ครั้ง
2. รอจนกว่าวงล้อด้านในหยุดแล้วดูว่าช่องของวงล้อด้านนอกและวงล้อด้านในตรงกันหรือไม่
3. ถ้าตรงกันให้เด็กนับจำนวนรูปทรงในแต่ละช่องว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วหยิบตัวเลขคำตอบ มา    ใส่ในช่องนั้นๆ
4. ในกรณีที่เส้นแบ่งช่องไม่ตรงกันให้หมุนใหม่อีก 1 ครั้ง

สื่อชิ้นนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง....?

 1. สามารถประยุกต์ได้ทั้งการนับจำนวน   รูปเรขาคณิตการรวมและการแยก (ด้านสติปัญญา)
 2. พัฒนากล้ามมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กในระหว่าง ทำกิจกรรม  (ด้านร่างกาย)
3. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับบุคครอบข้าง(ด้านสังคม)
4.  ทำให้เกิดความรู้สึก ผ่อนคลายสนุกสนานและ ตื่นเต้น ในการ ทำกิจกรรม (ด้านอารมณ์)

สื่อที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ คือสื่อกระถางลูกโป่ง

เพราะ……เป็นสื่อที่เรียบง่ายสามารถทำได้ง่ายใช้ระยะเวลาไม่นาน พร้อมทั้งนี้ยังสามารถประยุกต์นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ เช่น สถิติการมาเรียนโดยให้เด็กที่มาเรียนนำไม้ที่เป็นรูปของตัวเองมาเสียบไว้ตรงช่องที่เตรียมไว้ให้  หรือ หากต้องการที่จะทำสื่อคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนก็สามารถดัดแปลงให้เป็นรูปต่างๆได้ ซึ่งเด็กจะได้ไม่เบื่อหน่าย และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้เต็มที่  
รูปภาพบรรยากาศการนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน














ครั้งที่ 8  วันที่ 10 เดือนมกราครม 2557
เรื่องแผนการสอนคณิตศาสตร์
ตั้นชั่วโมงอาจารยือธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยมีข้อสรุปดังต่อไปนี้…..คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะบูรณาการไปกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นต้น ซึ่งการเขียนแผนการสอนในรายวิชานี้ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกวันหรือทุกสัปดาห์แต่ให้ระบุว่าในแต่ละเทอมของเด็กแต่ละช่วงชั้นว่าเด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง

จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มย่อย 5-6 คน ต่อ1 กลุ่ม แล้วช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการสอนโดยในตอนเรียกอาจารยือธิบายแนวทางและวิธีการเขียนแผนก่อนต่อมาก็ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติเองพร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนตอนท้ายคาบเรียน

แผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มของข้าพเจ้า



ตัวอย่างบรรยากาศในการนำเสนอแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








ครั้งที่ 7  วันที่   17 เดือนมกราคม 2557
เรื่องแผนการสอน และพีชคณิต
 งานแรก……คาบเรียนนี้อาจารย์ให้แบ่งนักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆให้ออกมาเสนอการจัดการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อ ..สถิติสำหรับเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อเรื่องสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวและสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งจากทำสถิติสำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่มีความซับซ้อนอาจจะเป็นการให้เด็กแยกประเภทจากภาพตามที่ครูยกขึ้มมาให้เด็กดู เช่น  สัตว์ปีก  สัตว์บก สัตว์เลื้อยคลาน ในด้านของตัวผู้สอนนั้น จะเป็นผู้จัดเตรียมสื่อ เขียนสื่อตามที่เด็กแสดงความคิดเห็นออกมาโดยท้ายสุดของกิจกรรมครูผู้สอนจะต้องเป็นคนสรุปการเรียนรู้ทั้งหมดให้เด็กอีกหนึ่งรอบเพื่อให้เด็กมีความเข้าใจ และ ยังเป็นการประเมินตัวของเด็กไปในตัวโดยการสังเกตหรือการตอบคำถามท้ายกิจกรรม
งานที่สอง ……อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบสื่อตัวหนอนที่เกี่ยวข้องกับพีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย โดยรูปแบบของการทำสื่อคือ ตัวหนอนจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง ขนาด หรือ สี
การเรียนในคาบนี้ถือว่าสนุกมากนอกจะที่จะได้แสดงบทบาทสมมุติแล้วยังได้ใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการออกแบบสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับคณิดศาสตร์ด้วยเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆในการทำสื่อเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว


บรรยากาศภายในห้องเรียน